Swanson Ultra Uric Acid Cleanse/ 60 Veg Caps

รวมสมุนไพร 7 ชนิด บำรุงไต ช่วยกำจัดกรดยูริคในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับสมดุล เสริมประสิทธิภาพการทำงานของไต


ราคา: 640 บาท

- สกัดจากธรรมชาติ 100% ในการกำจัดกรดยูริคออกจากร่างกายให้อยู่ระดับสมดุล
- ส่งเสริมการทำงานของไต ให้มีประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
- สุดยอดการผสมผสานสานสมุนไพรธรรมชาติอย่างลงตัวที่มีฤทธิ์บำรุงไต และลดกรดยูริค ทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ Agaricus bisporus+ ขมิ้นชัน+Yucca Root+อาร์ติโชค+Tart Cherry+Milk Thistle+กระเทียม

สมุนไพรทั้ง 7 ชนิด จะช่วยให้ร่างกายของคุณมีระดับกรดยูริคปกติ ซึ่ง Swanson Ultra Uric Acid Cleanse มีประสิทธิภาพในการกำจัดกรดยูริคที่เป็นผลพลอยได้จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย ซึ่งสารพิวรินเกิดจากการสลายโปรตีนในร่างกาย

วิธีรับประทาน: วันละ 1 เม็ด

Code: SWU849

Swanson Ultra Uric Acid Cleanse/ 60 Veg Caps

  • The all-natural answer for uric acid elimination
  • Helps promote healthy kidney function
  • Synergistic combination of seven time-tested herbs—a Swanson® Exclusive!

Product Description:

Uric Acid Cleanse

"I started using this product about two weeks ago and seems to be doing quite a fine job. ... very happy with it now!" ~product review by AlainF
Give your body a helping hand to keep uric acid at a healthy, comfortable level safely and naturally with Swanson Ultra Uric Acid Cleanse. As a normal byproduct of purine metabolism, uric acid is something your body has to deal with every day. The burden falls mainly on the liver and kidneys, because they are the organs primarily responsible for filtering and purifying the blood and eliminating metabolic byproducts. But for some people, maintaining healthy levels of uric acid can be more difficult, due to genetic disposition or lifestyle factors like alcohol consumption, high protein diets or high intakes of purine-rich foods, refined sugar or high-fructose corn syrup, all of which can increase uric acid levels in the bloodstream. Swanson Ultra Uric Acid Cleanse features a synergistic combination of seven time-tested herbs formulated to support healthy liver and kidney function and aid the natural elimination process to help keep uric acid in check. It's a great, all-natural way to assist your internal housekeeping system with one of its toughest tasks.

Product Label:

Uric Acid Cleanse

Supplement Facts

Serving Size 1 Veggie Capsule
Amount Per Serving% Daily Value
Agaricus bisporus (fruiting bodies)(standardized to minimum 30% polysaccharides)200 mg*
Turmeric (Curcuma longa) (root)150 mg*
Yucca Root 4:1 Extract (Yucca schidigera)(equivalent to 200 mg)50 mg*
Artichoke Leaf 4:1 Extract (Cynara scolymus)(equivalent to 50 mg)12.5 mg*
Tart Cherry Powder (fruit)(25:1 concentrate from fresh cherries, minimum 0.5% anthocyanins and 1% flavonoids) (equivalent to 200 mg)8 mg*
Milk Thistle Seed 4:1 Extract (Silybum marianum)(equivalent to 25 mg)6.25 mg*
Odor-controlled Garlic (Allium sativum) (bulb)(100:1 extract) (equivalent to 2 mg)20 mcg*
*Daily Value not established.
Other ingredients: Rice flour, hypromellose (vegetable capsule), maltodextrin, rice concentrate, rice extract, may contain one or both of the following: stearic acid, silica.
Suggested Use: As a dietary supplement, take one veggie capsule per day with water.
WARNING: Do not take this product if you are pregnant or nursing, or if you have an obstruction of the bowels or bile ducts. Consult your healthcare provider before use if you have or have had gallbladder problems.

กรดยูริค (Uric acid) คือกรดชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการเผาผลาญของสารพิวรีน ถ้ามีมาก เกินไปจะเก็บสะสมตามข้อต่างๆ จนอาจจะเป็นโรคเก๊าท์ได้ ชาย-ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หญิง-ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ร่างกายของเราจะมีการจัดการกับกรดยูริคทุกวันภาระส่วนใหญ่จึงตกอยู่ในตับและไต เพราะเป็นอวัยวะหลักในการรับผิดชอบในการกรอง ฟอกเลือด และขจัดสารที่ได้จากการสลายพิวรีนแต่สำหรับบางคนที่ยังคงรักษา ระดับของกรดยูริค อาจเป็นเรื่องยากมากขึ้น เนื่องจากผลทางพันธุกรรม หรือ จากปัจจัยการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ , รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หรือ การบริโภคอาหารที่มีสาร purine สูง น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หรือ น้ำตาลฟรักโทส ข้าวโพด น้ำเชื่อม ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะทำให้สามารถเพิ่มระดับกรดยูริคในกระแสเลือด Swanson Ultra Uric Acid Cleanse ขอนำเสนอการผสมผสาน กันอย่างลงตัว ของสมุนไพร 7 ชนิด เพื่อสนับสนุนการทำงานของตับและไต ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และ จะช่วยในกระบวนการกำจัดกรดยูริคในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับสมดุล

การเกิดกรดยูริกมาจาก 2 ปัจจัย

- ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สารต่างๆ ในอาหารทั่วไปที่มีผลทำให้ปริมาณกรดยูริกในร่างกายสูงขึ้นได้ เช่น สารพิวรีน กรดยูริก หรือเกลือของกรดยูริกในอาหาร สารพวกนี้จะถูกเผาผลาญเป็นกรดยูริกได้

- เกิดจากปัจจัยภายใน กรดยูริกที่เกิดจากการสลายตัวของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เช่น ถ้ากล้ามเนื้อทำงานมากขึ้นหรือในภาวะอดอาหารมีการสลายของกล้ามเนื้อ จะมีสารพิวรีนเกิดมาก กรดยูริกก็เกิดมากด้วยอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ปลาซาดีน ตับ ไต น้ำสกัดจากเนื้อน้ำต้มกระดูก อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง ได้แก่ เนื้อ ไก่ ปลา อาหารทะเล หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ถั่วต่างๆ เห็ด กะหล่ำดอก ยอดผักต่างๆ อาหารที่มีพิวรีนต่ำ ได้แก่ ผักเกือบทุกชนิด ผลไม้ ไข่ นม เนยแข็ง เมล็ดข้าวขัดสี แป้ง (ยกเว้น
แป้งสาลี)

นอกจากนี้ ยาบางอย่าง เช่น แอสไพริน และยาที่เข้าซาลิไซเลต ยับยั้งการขับยูริกออกจากร่างกาย อาหารที่มีไขมันสูงจะยับยั้งการขับยูริกออกจากร่างกาย น้ำดื่มก็นับว่าสำคัญ ควรดื่มน้ำให้มาก อาจถึง ๓ ลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีกรดยูริกเข้มข้นมากจนตกตะกอนและจับตัวเป็นผลึก ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้

สำหรับเรื่องการออก กำลังกาย ขณะที่มีอาการไม่ควรออกกำลังกาย เพราะกล้ามเนื้อทำงานมาก ก็มีสารพิวรีนมากขึ้น และมีการสร้างสาร แลคเตท ทำให้การขับยูริกลดลง ในภาวะปกติที่ไม่มีอาการกำเริบ คือสามารถควบคุมอาการของโรคได้ ก็ออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่หนักเกินไป เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ โยคะ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.vibhavadi.com
http://www.doctor.or.th/node/1941

ร่างกายมีขบวนกำจัดกรดยูริกอย่างไร
  1. ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร และซึ่งการขับออกทางระบบทางเดินอาหารจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
  2. ขับออกทางไต ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มี ระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเก๊าท์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออก ทางไต

ภาวะกรดยูริกในเลือดเท่าไรจึงจะเรียกว่าสูง
ระดับกรดยูริกในเลือดของเด็กจะมีค่าประมาณ 3.5-4.0 มก./ดล. ในเพศชายเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นระดับกรดยูริกจะมีค่าสูงขึ้น 1-2 มก./ดล. แต่ในเพศหญิงวัยมีประจำเดือนระดับกรดยูริกจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนเร่งการขับกรดยูริกออกทางไต เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนระดับกรดยูริกจะมีค่าสูงขึ้นจนมีระดับเท่าในผู้ชาย
โดยทั่วไปจะถือว่าระดับกรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เมื่อมีค่ามากกว่า 7.0 มก./ดล. ในเพศชาย และ 6.0 มก./ดล. ในเพศหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว


ลักษณะอาการทางคลินิกของโรคเก๊าท์
  • เกดในชายมากกว่าหญิงประมาณ10เท่า
  • พบมากในช่วงอายุ 40-50 ปี หากเกิดก่อนอายุ 50 มักจะเป็นชาย
  • ในหญิงจะเป็นเก๊าท์ในช่วงหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี

ลักษณะอาการทางคลินิกของโรคเก๊าท์
  • เกดในชายมากกว่าหญิงประมาณ10เท่า
  • พบมากในช่วงอายุ 40-50 ปี หากเกิดก่อนอายุ 50 มักจะเป็นชาย
  • ในหญิงจะเป็นเก๊าท์ในช่วงหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี

อาการของโรคกรดยูริกสูงเป็นอย่างไร
ลักษณะทางคลินิกที่สำคัญของโรคเก๊าท์จะมีอาการแสดงใน 2 ระบบ คือ ระบบข้อ และระบบไต
  1. อาการทางระบบข้อ
  2. อาการทางระบบไต อาจแบ่งออกได้เป็น

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงกับความผิดปกติทางโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า
  • ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตในเลือดสูงร่วมกับมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูง จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าผู้ป่วยที่มีความดัน โลหิตสูงแต่มีระดับกรดยูริกปกต
  • ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับกรดยูริกในเลือดที่ต่ำกว่า
  • ขณะที่เมื่อให้ยา allopurinol ในสัตว์ทดลองเพื่อลดระดับกรดยูริกจะทำให้ความดันโลหิตลดลง รวมทั้งป้องกันการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงได้

โรคร่วมที่พบในโรคเก๊าท์
เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเก๊าท์มักจะพบร่วมกับโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในโลหิตสูงรวมทั้งโรคหลอดเลือดในหัวใจและกลุ่มอาการเมตะบอลิคดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยโรคเก๊าท์ แพทย์ผู้ดูแลรักษาจำต้องมองหา และให้การรักษาโรคร่วมเหล่านี้ด้วยเสมอ

การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ที่ดีที่สุดคือ

  • การตรวจพบผลึกเกลือยูเรตจากน้ำไขข้อในขณะที่ข้อมีการอักเสบ
  • ในรายที่เป็นมานานแล้วและมีปุ่มโทฟัส อาจสะกิดเอาชิ้นเนื้อจากปุ่มโทฟัสไปดูด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องจุลทรรศน์ โพราไรซ์ (compensated polarized light microscopy) เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
  • การ X ray
ในสถานที่ที่ไม่มีกล้องจุลทรรศน์โพราไรซ์ ก็สามารถให้การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ด้วยการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เนื่องจากการตรวจดูด้วยผู้ชำนาญจะสามารถให้การวินิจฉัยได้ด้วยความไวและความ จำเพาะถึงร้อยละ 96.2-100.0 และ 97.1-100.0 ตามลำดับ ดังนั้นในกรณีที่สงสัยโรคเก๊าท์และผู้ป่วยมีข้ออักเสบจึงควรทำการเจาะตรวจ น้ำไขข้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเสมอ


การรักษาโรคเก๊าท์
การรักษาโรคเก๊าท์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา การรักษาโรคร่วม และการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยา
ถึงแม้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง และในปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูงก็ตาม แต่การรักษาด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรักษา ผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่ได้ละเลยความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ไป
อ่านเรื่องการรักษากรดยูริกโดยไม่ต้องใช้ยา

การรักษาด้วยวิธีการที่ใช้ยา
การรักษาด้วยวิธีการที่ใช้ยา จะขึ้นกับจุดประสงค์ในการรักษาเป็นหลัก โดยทั่วไปการรักษาด้วยวิธีการที่ใข้ยาจะขึ้นกับระยะของโรคเก๊าท์ ได้แก่
  1. การรักษาระยะมีข้ออักเสบเฉียบพลัน
  2. การรักษาเพื่อป้องกันข้ออักเสบกำเริบซ้ำ
  3. การให้ยาลดกรดยูริก
การรักษาโรคร่วม
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ผู้ป่วยโรคเก๊าท์มักจะมีโรคร่วมหลายประการ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไขมันในโรหิตเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มอาการเมตะบอลิค เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะไตทำงานบกพร่อง รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง จากการศึกาที่พบว่าภาวะกรดยูริกในเลือดสูงสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทาง ไต รวมทั้งหลอดเลือดสมองและหัวใจ ดังนั้นเมื่อให้การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ แพทย์ผู้ให้การวินิจฉัยจำเป็นต้องมองหาโรคร่วมเหล่านี้ รวมทั้งมองหาโรคหรือภาวะที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมด้วยทุกครั้ง
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาโรคร่วมจะทำ ให้การควบคุมเก๊าท์ทำได้ดีขึ้นก็ตาม แต่จากการที่พบว่าโรคร่วมที่พบบ่อย ซึ่งได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในโลหิตสูง ล้วนแต่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะไตวาย ซึ่งในปัจจุบันก็มีข้อมูลที่สนับสนุนว่าภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเพิ่มอัตรา เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งภาวะไตวายด้วยเช่นกัน จึงควรทำการรักาได้ด้วยกัน
การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
โดยปกติแล้วโรคเก๊าท์เป็นโรคที่รักษาด้วยยา แต่มีบางกรณีที่มีภาวะที่จำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดแก้ไข เช่น ในกรณีที่ก้อนโทฟัสโตมากและกดเส้นประสาทหรือไขสันหลัง หรืออยู่บริเวณข้อและทำให้ข้อไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ หรือก้อนอาจไปกดเส้นเอ็นและทำให้เส้นเอ้นขาดได้ เป็นต้น กรณีการผ่าตัดแก้ไขก็จะมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมความผิดปกติต่าง ๆ ให้กลับมาดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การจะผ่าตัดจำเป็นที่แพทย์ต้องเตรียมผู้ป่วยให้ดี เพื่อป้องกันการอักเสบกำเริบหลังการผ่าตัดด้วยเสมอ

สรุป
โรคเก๊าท์เป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากรดยูริกในเลือดสูงเกิดค่าจุดอิ่มตัว จะมีอาการ
  1. อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
  2. โรคข้ออักเสบเรื้อรัง
  3. ทำให้ไตทำงานบกพร่อง
  4. การเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)
  5. และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
การรักษาโรคเก๊าท์ประกอบไปด้วย
  • การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
  • การรักษาโดยการใช้ยา
  • การรักษาโรคร่วม
  • การผ่าตัด
ที่มา: http://www.siamhealth.net

ฉลากใหม่ สูตรเดิม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น