Swanson Premium Digestive Enzymes 180 Tabs

เอนไซม์ช่วยเสริมประสิทธิภาพระบบการย่อยให้ดีขึ้น ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ในหนึ่งเดียว ขนาด 180 เม็ด สุดคุ้ม !!


ราคา: 920 บาท

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมช่วยย่อยอาหารทั้งประเภทไขมัน โปรตีน แป้ง และยังมีบีเทนที่คอยช่วยลดแรงตึงผิวทำให้ช่วยเกิดการละลายน้ำของโมเลกุลอาหารได้ดียิ่งขึ้น ช่วยลดปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปัญหาคนสูงอายุที่มีอาการอาหารย่อยยากซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรคต่างๆที่จะเกิดตามมา นอกจากนี้ช่วยสลายสารพิษ ทำให้เลือดบริสุทธิ์ เสริมระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง สร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากปอด และลดความเครียดของตับอ่อนและอวัยวะอื่นๆ

วิธีรับประทาน: ครั้งละ 1 เม็ด พร้อมอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น

Code: SW668
Swanson Premium Digestive Enzymes 180 Tabs
• Aids in the digestion of carbohydrates, proteins and fats safely*
• An economical way to help break down your food more efficiently
• Combines a select blend of powerful enzymes

Featured review
"These have made a wonderful difference in my digestive process - as we age, this seems like the key to helping with digestion, as our own enzymes are not as plentiful." ~product review by Melodies

Is your stomach talking back to you? Keep it quiet with Swanson Digestive Enzymes! This digestive formula features a select blend of powerful enzymes to help break down fats, carbohydrates, and proteins safely and effectively.*

Supplement Facts

Serving Size 1 Tablet
Amount Per Serving% Daily Value
Pancreatin 4x (protease,amylase, lipase)250 mg*
Ox Bile Extract150 mg*
Diastase (from barley malt)80 mg*
Papain (from Carica papaya)30 mg*
Cellulase (from Aspergillus niger)20 mg*
Bromelain (2,400 GDU)(from pineapple)10 mg*
Betaine HCl5 mg*
*Daily Value not established.
Other ingredients: Dicalcium phosphate, stearic acid, croscarmellose sodium, magnesium stearate, silica, food glaze, magnesium silicate.
Suggested Use: As a dietary supplement, take one tablet three times per day with food and water.
เอนไซม์คืออะไร...เอนไซม์เปรียบเสมือนกับสิ่งที่เป็นตัวจุดประกายของชีวิตที่อยู่ในร่างกาย ถ้าหากในร่างกายของท่านไม่มีเอนไซม์ ท่านก็ไม่สามารถย่อยอาหารและดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้และในที่สุดท่านก็จะตาย ดังนั้นเอนไซม์จึงเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี หรือตัวคะตะไลต์ ที่จำเพาะ ซึ่งจะทำงานร่วมกับโคเอนไซม์ โคเอนไซม์ในที่นี้ก็คือ พวกวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย นั่นเอง หลายท่านอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่า วิตามินนั้นไม่สามารถกระตุ้นให้ทำงานได้ถ้าหากว่าไม่ได้ ทำงานร่วมกับเอนไซม์ ดร.เอ็ดเวิร์ด เฮาเวลล์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ได้มีการ ศึกษาเกี่ยวกับเอน"ซม์ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2476 - 2486 กล่าวว่า "เรามีแหหล่งพลังงานจากเอนไซม์ มาตั้งแต่แรกเกิด เปรียบเสมือนกับแบตเตอรี่อันใหม่ เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง แบตเตอรี่ดังกล่าวก็จะหมดอายุ การใช้งานไป ร่างกายเราก็เช่นกัน ถ้าหากมีการใช้แหล่งพลังงานจากเอนไซม์ไปมากเท่าไหร่ ชีวิตเราก็จะ สั้นมากขึ้นเท่านั้น" เนื่องจากเรามีแหล่งพลังงานจากเอนไซม์อันจำกัด แหล่งพลังงานนี้ก็จะสูญหาย ไปได้ เรื่อยๆ จากนิสัยการบรอโภคอาหารของเรา เช่น การรับประทานอาหารที่ปรุงแต่งด้วยสารเคมีต่างๆ มาก มาย การดิ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยา หรือแม้แต่การรับประทานอาหารขยะ หรือพวกฟาสต์ฟูด ก็มีส่วนในการทำลายเอนไซม์ในร่างกายของเราทั้งสิ้น
ท่านอาจจะได้ยินประโยคนี้กันอยู่บ่อยๆ ว่า "You are what you eat" แต่แท้ที่จริงแล้ว มีส่วนที่ถูกต้องเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งความจริงก็คือว่า "You are what you eat" ต่างหากนั่นเอง

เอนไซม์ในร่างกายทำหน้าที่อะไรบ้าง
... หน้าที่ที่แม้จริงของเอนไซม์ ได้แก่ ย่อยอาหาร สลาย สารพิษ ทำให้เลือดบริสุทธิ์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง สร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัว กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากปอด และลดความเครียดของตับอ่อนและอวัยวะอื่นๆ


เอนไซม์มีกี่ชนิด... เอนไซม์สามารถจัดจำแนกออกได้ 4 ชนิดคือ
  1. เอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme)จะพบได้ในอาหารดิบทุกชนิด แต่การปรุงอาหารโดยใช้ความเกินกว่า 47 องศาเซลเซียส จะทำให้เอนไซม์ถูกทำลายจนหมด
  2. เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme)ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตออกมาจากตับอ่อนเพื่อใช้ย่อยและดูดซึมอาหารที่เรากิน ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า
  3. เอนไซม์จากจุลินทรีย์ (Microorganism Enzyme) ซึ่ง จุลินทรีย์สามารถผลิตเอนไซม์ปริมาณมากๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น เพราะจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วและมีขนาดเล็ก ในการนี้ควรจะต้องมีการคัดสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมกับเอนไซม์ที่ได้ด้วย
  4. เอนไซม์ในการเผาผลาญพลังงาน (Metabolic Enzyme)เป็นเอนไซม์ ที่ผลิตในเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีเพื่อการเผาผลาญสารอาหารและสร้างพลังงาน สร้างภูมิต้านทาน สร้างความเจริญเติบโต ตลอดจนซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ
    และจากการผลงานการศึกษาเรื่อง “กระบวนการหมักถั่ว” ของ ศิริพร ตันจอ ที่เขียนลงในวารสารโภชนาการ ฉบับที่ 2 เดือน พ.ค.- ส.ค. 2555 ของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ม.เกษตรศาสตร์ แสดงให้เห็นว่า ในกระบวนการการหมักถั่วเหลืองจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า “ถั่วเน่า” พบโปรตีนถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน ร่างกายนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น และ การหมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์นี้สามารถผลิตสารสำคัญ ได้แก่ เอนไซม์ไฟเตส ที่ช่วยย่อยสลายสารลดการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกายให้ลดลงกว่า 90 % และยังช่วยสร้างกรดอินทรีย์ต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในละลายและการดูดซึมแร่ธาตุเหล็กและสังกะสี

    *** จากการศึกษานี้เองที่เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า ขั้นตอนในการหมักพืช-ผลไม้อย่างถูกวิธีนั้น ก่อให้เกิดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณมาก และจุลินทรีย์นั้นมีความสามารถพิเศษในการผลิตเอนไซม์ปริมาณมากๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า แท้จริงแล้วน้ำหมักชีวภาพกับน้ำเอนไซม์นั้น คือ น้ำชนิดเดียวกัน***
ผลไม้สดและพืชสดล้วนมี เอนไซม์ ในตัวเองทั้งสิ้นการกินผลไม้สดและ พืชสดนั้นจะได้ เอนไซม์ จาก ตัวของมันเองเพียงเพื่อย่อย สลายตัวมันเอง และย่อยสลายโมเลกุลของอาหารให้เป็นสารอาหารได้โดย ไม่ต้องพึงเอนไซม์ย่อยอาหารในร่างกายมนุษย์ ข้อดีของ การกินผลไม้สดและพืชสด ก็คือทำให้เราประหยัดเอนไซม์ในร่างกายและช่วยให้ตับอ่อน เสื่อมสภาพช้าลงและเป็น ไปตาม วงจรชีวิตปกติ ช่วยรักษาระดับ ของเอนไซม์กลุ่มเผาผลาญ หรือเมตาบอลิคเอนไซม์ไม่ต้องถูก นำมา ใช้ในการย่อย อาหาร

อาหารจากธรรมชาติต่าง ๆ ล้วนแต่มีเอนไซม์อยู่ด้วยเพื่อที่จะช่วยในการย่อยสิ่งต่างๆ ที่เรารับประทาน เข้าไป เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน เส้นใย น้ำตาลและนม เป็นต้น เอนไซม์ในอาหารเหล่าที่ว่านี้สามารถจำแนก ได้เป็น 7 ประเภท คือ
  1. ไลเพส(Lipase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยสลายอาหารจำพวกไขมัน
  2. โพรทีเอส(Protease) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยสลายอาหารจำพวกโปรตีน
  3. เซลลูเลส(Cellulase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยสลายอาหารพวกเส้นใยพืชต่าง ๆ
  4. อะไมเลส(Amylase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยสลายอาหารจำพวกแป้ง
  5. แลกเทส(Lactase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยสลายอาหารจำพวกนม
  6. ซูเครส(Sucrase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยสลายอาหารจำพวกน้ำตาล
  7. มอลเทส(Maltase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยสลายอาหารจำพวกเมล็ดข้าว เป็นต้น

เมื่อเรารับประทานผักสดและผลไม้เข้าไป ร่างกายก็จะได้รับเอนไซม์เหล่านี้เข้าไป เอนไซม์เหล่านี้ จะไปช่วยให้การทำงานของเอนไซม์ที่มีอยู่แล้วในร่างกายให้ทำงานได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยใน การรักษา

ดร.เอ็ดเวิร์ด เฮาเวลล์ ยังได้ค้นพบว่าคุณภาพชีวิตและระดับพลังงานในร่างกายของเรานั้นขึ้นอยู่กับ เอนไซม์ทั้งหลาย ถ้าหากร่างกายของเรามีเอนไซม์อยู่น้อยก็จะทำให้เรามีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ด้วย ซึ่ง มีผู้ประมาณการเอาไว้อีกว่าประมาณร้อยละ 80 ของโรคในร่างกายมีสาเหตุมาจาก ร่างกายไม่สามารถย่อย อาหารได้ และนอกจากนี้สารบางอย่างซึ่งเป็นพวกสารปนเปื้อนในอาหารก็จะถูกร่างกายดูดซึม เข้าไปด้วย

เราได้รับเอนไซม์ที่สะสมมาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งปริมาณของเอนไซม์จะลดลงเรื่อยๆ ตามช่วงของอายุ ดังนั้นจึงมักพบว่าในผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์ของร่างกายจะลดลงทำให้เกิดปัญหาของการ พร่องเอนไซม์ในร่างกาย และนอกจากนี้สาเหตุของการขาดเอนไซม์ยังเกิดจากการที่เอนไซม์สูญเสียสภาพไป อันเนื่องมาจากการผ่านขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการปรุงอาหาร โดยเฉพาะความร้อน เป็นต้น เราจึงต้อง มีการเพิ่มปริมาณเอนไซม์ให้กับร่างกายของเรา ซึ่งพบว่ามีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน ดังนั้นในวันหนึ่งๆ เราควร รับประทานอาหารจำพวกผักสดและผลไม้สดให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของอาหารทั้ง หมดที่เรารับประทาน เข้าไป เพื่อร่างกายของเราจะได้ไม่ขาดเอนไซม์และสุขภาพร่างกายของเราก็จะดีด้วย 

บทความ: http://biology.ipst.ac.th



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น